ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ (Property plant and equipment)
ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ หมายถึง สินทรัพย์ที่มีตัวตน ที่กิจการมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิต ในการจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ หรือเพื่อใช้ในการบริหารงาน และ กิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์มากกว่าหนึ่งรอบระยะเวลา โดยปกติแล้ว ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ จะแสดงมูลค่าในงบการเงินด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสม บัญชีดังกล่าวถือว่ามีความสำคัญมากต่องบการเงินเนื่องจากโดยส่วนใหญ่แล้วบัญชีนี้มันจะมีสัดส่วนที่สูงในงบการเงิน ดังนั้นหากบริษัทไม่สามารถบริหารจัดการ ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ ให้มีประสิทธิภาพก็จะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทได้เช่นกัน
ค่าเสื่อมราคา หมายถึง ทรัพย์สินย่อมมีการเสื่อมค่าเมื่อระยะเวลาผ่านไป ดังนั้นจึงต้องมีการปันส่วนจำนวนที่คิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ อย่างมีระบบตลอดอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์นั้นเพื่อลดมูลค่าทรัพย์สินตามระยะเวลา
มูลค่าคงเหลือ (ราคาซาก) หมายถึงจำนวนเงินที่กิจการคาดว่าจะได้รับในปัจจุบันจาก การจำหน่ายสินทรัพย์ ณ วันสิ้นสุดอายุการให้ประโยชน์
อายุการให้ประโยชน์ หมายถึง ระยะเวลาที่กิจการคาดว่าจะมีสินทรัพย์ไว้ใช้ หรือจำนวนผลผลิตหรือจำนวนหน่วยในลักษณะอื่น ที่คล้ายคลึงกันซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์
ท่านใดสนใจหลักสูตรงบการเงินดูรายละเอียดที่นี้ "สอนอ่านงบการเงิน"
ผลกระทบกับงบการเงิน
การคำนวณค่าเสื่อมราคา
สำหรับวิธีในการคำนวณค่าเสื่อมราคามี 2 แบบหลักๆดังนี้
1. แบบเส้นตรง
2. แบบตามจำนวนผลผลิต
สูตรการคำนวณค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง
ตัวอย่างผลกระทบต่องบการเงิน
สมมติซื้ออุปกรณ์ด้วยเงินสดมาในราคา 100 บาท ประมาณมูลค่าคงเหลือ (ราคาซาก) ที่ 20 บาท อายุการให้ประโยชน์ 5 ปี ณ สิ้นปีที่ 4 บริษัทขายอุปกรณ์ออกไปในราคา 45 บาท
ค่าเสื่อมราคา/ปี = (100-20)/5 = 16 บาท
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าราคาทุนที่ซื้อมาอยู่ที่ 100 บาท และคิดค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรงได้ปีละ 16 บาท ดังนั้นมูลค่าตามบัญชีของอุปกรณ์ในแต่ละปีจะเป็นดังต่อไปนี้ สิ้นปีที่ 1 : 100 - 16 = 84 บาท สิ้นปีที่ 2 : 84 - 16 = 68 บาท สิ้นปีที่ 3 : 68 - 16 = 52 บาท สิ้นปีที่ 4 : 52 - 16 = 36 บาท ในสิ้นปีที่ 4 บริษัทขายอุปกรณ์ออกไปในราคา 45 บาท ซึ่ง ณ ขณะนั้นมูลค่าตามบัญชีที่อยู่ในงบการเงินของอุปกรณ์อยู่ที่ 36 บาท ดังนั้นจึงเกิดกำไรจากการขายอุปกรณ์ขึ้น 9 บาท (45-36) เนื่องจากราคาขายของอุปกรณ์มากกว่าราคาตามบัญชีนั่นเอง |
สูตรการคำนวณค่าเสื่อมราคาแบบตามจำนวนผลผลิต
ตัวอย่างผลกระทบต่องบการเงิน
สมมติซื้ออุปกรณ์ด้วยเงินสดมาในราคา 100 บาท ประมาณมูลค่าคงเหลือ (ราคาซาก) ที่ 20 บาท ประมาณการจำนวนผลผลิตทั้งหมดที่ 1,000 ชิ้นตลอดอายุการใช้งาน ณ สิ้นปี 1 บริษัทสามารถผลิตได้ทั้งหมด 100 ชิ้น สิ้นปี 2 ผลิตได้ 150 ชิ้น สิ้นปี 3 ผลิตได้ 50 ชิ้น สิ้นปี 4 ผลิตได้ 150 ชิ้น และบริษัทขายอุปกรณ์ออกไปในราคา 45 บาท ณ สิ้นปีที่ 4
อัตราค่าเสื่อมราคาต่อหน่วย = (100-20)/1,000 = 0.08 บาท
ค่าเสื่อมราคาปี 1 = 0.08 x 100 = 8
ค่าเสื่อมราคาปี 2 = 0.08 x 150 = 12
ค่าเสื่อมราคาปี 3 = 0.08 x 50 = 4
ค่าเสื่อมราคาปี 4 = 0.08 x 150 = 12
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าราคาทุนที่ซื้อมาอยู่ที่ 100 บาท และคิดค่าเสื่อมราคาแบบจำนวนผลผลิตซึ่งทำให้ค่าเสื่อมราคาในแต่ละปีนั้นไม่เท่ากันเนื่องจากผลผลิตในแต่ละปีนั้นไม่เท่ากัน ดังนั้นมูลค่าตามบัญชีของอุปกรณ์ในแต่ละปีจะเป็นดังต่อไปนี้ สิ้นปีที่ 1 : 100 - 8 = 92 บาท สิ้นปีที่ 2 : 92 - 12 = 80 บาท สิ้นปีที่ 3 : 80 - 4 = 76 บาท สิ้นปีที่ 4 : 76 - 12 = 64 บาท ในสิ้นปีที่ 4 บริษัทขายอุปกรณ์ออกไปในราคา 45 บาท ซึ่ง ณ ขณะนั้นมูลค่าตามบัญชีที่อยู่ในงบการเงินของอุปกรณ์อยู่ที่ 64 บาท ดังนั้นจึงเกิดขาดทุนจากการขายอุปกรณ์ขึ้น 19 บาท (45-64) เนื่องจากราคาขายของอุปกรณ์น้อยกว่าราคาตามบัญชีนั่นเอง |
อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (Investment property)
อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน หรืออาคาร หรือส่วนของอาคารหรือทั้งที่ดินและอาคาร) ที่ถือครองเพื่อหาประโยชน์จากรายได้ค่าเช่า หรือจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าของสินทรัพย์ หรือทั้งสองอย่าง และไม่ได้มีไว้เพื่อ
1) ใช้ในการผลิตหรือจัดหาสินค้าหรือให้บริการ หรือใช้ในการบริหารงานของกิจการ หรือ (ถ้ามีไว้ตามข้อนี้จะถือเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์)
2) ขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติ (ถ้ามีไว้ตามข้อนี้จะถือเป็นสินค้าคงเหลือ)
ตัวอย่างของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนมีดังต่อไปนี้
1) ที่ดินที่กิจการถือครองไว้เพื่อหวังกำไรจากการเพิ่มมูลค่าของที่ดินนั้นในระยะยาว
2) ที่ดินที่กิจการถือครองไว้โดยที่ปัจจุบันยังมิได้ระบุวัตถุประสงค์ของการใช้ในอนาคตให้ถือว่าที่ดินนั้นถือไว้เพื่อหาประโยชน์จากการเพิ่มมูลค่าของที่ดิน ดังนั้นให้ถือเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
3) อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในระหว่างก่อสร้างหรือพัฒนาเพื่อใช้เป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนในอนาคต
การแสดงรายการในงบการเงิน
สำหรับการแสดงรายการของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนในงบการเงินจะสามารถแสดงได้ 2 วิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายบัญชีของแต่ละบริษัทดังต่อไปนี้
1) แสดงด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสม (เหมือนกับกรณี ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์)
2) แสดงด้วยมูลค่ายุติธรรม
การคำนวณค่าเสื่อมราคา
สำหรับวิธีในการคำนวณค่าเสื่อมราคาจะเหมือนกับ ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ ทุกประการ
---------------------------------------------------------
ฝากเพื่อนๆช่วยกันแชร์บทความเพื่อส่งต่อความรู้ดีๆและหากสงสัยตรงไหนสามารถสอบถามที่ Webboard ของเราตาม Link นี้ได้เลยครับ
https://www.investme.in.th/webboard.php
หากสนใจเรียนบัญชีในรูปแบบ Online เพิ่มเติมเพื่อให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ดูรายละเอียดตาม Link นี้ได้เลยครับ
8/209 หมู่บ้าน ทาวน์ อเวนิว ศรีนครินทร์ ซอยอ่อนนุช 68 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250