รายได้
รายได้ คือ ผลตอบแทนที่กิจการได้รับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ สำหรับรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งบัญชีนี้เป็นบัญชีที่มีความสำคัญมากๆในงบกำไรขาดทุน เนื่องจากเป็นตัวที่แสดงให้เห็นว่าสินค้าและบริการของบริษัทได้รับการตอบรับจากลูกค้าดีมากน้อยแค่ไหน
รายได้จากการขาย/บริการ คือ รายได้ที่เกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของกิจการ
รายได้อื่น คือ รายได้ที่ไม่ได้เกิดจากธุรกิจหลักของกิจการ เช่น กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน กำไรจากการขายอุปกรณ์ รายได้จากดอกเบี้ย เป็นต้น
ท่านใดสนใจหลักสูตรงบการเงินดูรายละเอียดที่นี้ "สอนอ่านงบการเงิน"
หลักเกณฑ์ในการรับรู้รายได้
1. กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หรือการลดลงของหนี้สิน
2. กิจการสามารถวัดมูลค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ
วิธีในการรับรู้รายได้
ตามมาตรฐานบัญชี วิธีในการรับรู้รายได้นั้นมีหลายวิธี วิธีหลักๆจะมีดังต่อไปนี้
1.กรณีขายสินค้า – จะรับรู้รายได้เมื่อมีการส่งมอบสินค้า
2.กรณีให้บริการ – จะรับรู้รายได้ตามขั้นความสำเร็จของงาน
3.กรณีขายอสังหาริมทรัพย์ – จะรับรู้รายได้เมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์
4.กรณีรับเหมาก่อสร้าง -จะรับรู้รายได้ตามขั้นความสำเร็จของงาน
ผลกระทบกับงบการเงิน
จะเห็นได้ว่าหากเป็นรายได้จากการขายสินค้า จะต้องมีอีกคู่บัญชีอีกคู่ที่เกิดขึ้นนั้นคือการบันทึกต้นทุนขายกับสินค้าคงเหลือ เพื่อตัดสินค้าคงเหลือที่ถูกขายออกไปจากงบการเงิน |
ตัวอย่างผลกระทบกับงบการเงิน
ตัวอย่าง บริษัทได้ทำการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อไปในราคา 1,000 บาท สินค้าดังกล่าวมีราคาต้นทุนอยู่ที่ 300 บาท
ตัวอย่าง บริษัทมีรายได้จากการให้บริการเป็นเงินเชื่อ 1,000 บาท
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่าย คือ การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลารายงาน หรือการลดค่าของสินทรัพย์หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน ซึ่งส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง สำหรับรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
ต้นทุนขาย/บริการ คือ ต้นทุนในการซื้อสินค้าที่ขายออกไป หรือต้นทุนการให้บริการ
ค่าใช้จ่ายในการขาย คือ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กับยอดขาย
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการ
ต้นทุนทางการเงิน คือ ดอกเบี้ยจ่าย/ค่าธรรมเนียมธนาคารที่เกี่ยวกับการกู้ยืม
ภาษีเงินได้ คือ ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล
ผลกระทบกับงบการเงิน
ตัวอย่างผลกระทบกับงบการเงิน
ตัวอย่าง บริษัทได้จ่ายเงินเดือนของเดือน 12 ให้แก่พนักงานช่วงต้นเดือน 1 เป็นจำนวน 1,000 บาท
กำไรขาดทุน
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ คือ ผลการดำเนินงานของกิจการสำหรับรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการนำ รายได้ – ค่าใช้จ่าย หาก รายได้ > ค่าใช้จ่าย แสดงว่ากิจการมีกำไรในการดำเนินงาน หาก รายได้ < ค่าใช้จ่าย แสดงว่ากิจการมีผลขาดทุนจากการดำเนินงาน
นอกจากนี้สิ่งที่หนึ่งที่ควรทราบนั่นคือกำไร (ขาดทุน) สุทธิในงบกำไรขาดทุน จะวิ่งเข้ากำไรสะสมในงบแสดงฐานะการเงินเสมอ ตามแผนภาพดังนี้
กำไรสะสมปลายงวด = กำไรสะสมต้นงวด + กำไร(ขาดทุน)สุทธิ - เงินปันผลจ่าย
กำไรต่อหุ้น (EPS)
กำไรต่อหุ้น (Earning per Share หรือ EPS) คืออัตราส่วนกำไรสุทธิต่อหุ้นหรือส่วนกำไรสุทธิแบ่งเฉลี่ยให้แก่หุ้นสามัญแต่ละหุ้นของบริษัท แสดงให้เห็นถึงกำไรของบริษัทเมื่อเทียบกับจำนวนหุ้นทั้งหมด สามารถคำนวณได้โดยการนำกำไรสุทธิรอบ 12 เดือนล่าสุดเป็นตัวตั้งแล้วหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น ใช้สูตรเบื้องต้นดังต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1 บริษัท A มีกำไรสุทธิทั้งปี 100 บาท มีจำนวนหุ้นเท่ากันทั้งปี 50 หุ้น
EPS = 100/50 = 2 บาทต่อหุ้น
ตัวอย่างที่ 2 : บริษัท B มีกำไรสุทธิทั้งปี 100 บาท ณ วันที่ 1 มค. มีจำนวนหุ้น 50 หุ้น ต่อมาวันที่ 1 กค. มีการเพิ่มทุนอีก 50 หุ้น ดังนั้น ณ 31 ธค.บริษัทมีจำนวนหุ้นทั้งสิ้น 100 หุ้น
(ผมอยากให้ทุกท่านลองกลับไปที่บท 2 ในส่วนตัวอย่างงบกำไรขาดทุน แล้วลองอ่านงบกำไรขาดทุน ดูใหม่ ผมเชื่อว่าทุกท่านจะต้องเข้าใจตัวงบเพิ่มมากขึ้น)
เนื่อหาบทที่ 2 ตาม Link นี้ครับ คลิ๊กที่นี่
---------------------------------------------------------
ฝากเพื่อนๆช่วยกันแชร์บทความเพื่อส่งต่อความรู้ดีๆและหากสงสัยตรงไหนสามารถสอบถามที่ Webboard ของเราตาม Link นี้ได้เลยครับ
https://www.investme.in.th/webboard.php
หากสนใจเรียนบัญชีในรูปแบบ Online เพิ่มเติมเพื่อให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ดูรายละเอียดตาม Link นี้ได้เลยครับ
8/209 หมู่บ้าน ทาวน์ อเวนิว ศรีนครินทร์ ซอยอ่อนนุช 68 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250