การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายนั้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากค่าใช้จ่ายเป็นตัวแปรหนึ่งที่จะส่งผลต่อผลประกอบการของบริษัท โดยแนวทางในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายนั้นเป็นดังต่อไปนี้
1. วิเคราะห์แนวโน้มของค่าใช้จ่าย (Trend analysis)
2. วิเคราะห์สัดส่วนของค่าใช้จ่าย (Common size analysis)
3. ทำความเข้าใจโครงสร้างต้นทุน/วิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนผ่านงบการเงิน
ท่านใดสนใจหลักสูตรงบการเงินดูรายละเอียดที่นี้ "สอนอ่านงบการเงิน"
วิเคราะห์แนวโน้มของค่าใช้จ่าย (Trend analysis)
ค่าใช้จ่าย : จากการทำ Trend analysis ในส่วนของค่าใช้จ่ายพบว่าโดยรวมค่าใช้จ่ายของบริษัทเพิ่มขึ้นประมาณ 4.1% ซึ่งการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายนั้นน้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้ จะส่งผลดีต่อความสามารถในการทำกำไรและผลประกอบการของบริษัท 1.ต้นทุนขายเพิ่ม 3.9% ในขณะที่ยอดขายเพิ่ม 5.2% แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไรที่ดีขึ้น 2.ค่าใช้จ่ายในการขายและบริการเพิ่มขึ้น 5.4% ในขณะที่ยอดขายเพิ่ม 5.2% ถือว่าสมเหตุสมผลและสอดคล้องกัน 3.ค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้น 0.5% ในในขณะที่ยอดขายเพิ่ม 5.2% แสดงว่าในส่วนนี้ทางบริษัทสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี 4.ค่าใช้จ่ายทางการเงินลดลง 11% แสดงให้เห็นว่าทางบริษัทสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดี และมีเงินสดเหลือเพื่อไปจ่ายคืนเงินกู้ยืมทำให้มีส่วนของดอกเบี้ย (ค่าใช้จ่ายทางการเงิน) ลดลง 5.ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นจากกำไรของบริษัทที่เพิ่มสูงขึ้น (สำหรับเหตุผลที่ทำไมค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ลดลง เราจะไปอธิบายกันอีกทีในบทต่อไปเรื่องอัตราส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการทำกำไร) |
วิเคราะห์สัดส่วนของค่าใช้จ่าย (Common size analysis)
ค่าใช้จ่าย : จากการทำ Common size analysis ในส่วนของค่าใช้จ่ายพบว่าค่าใช้จ่ายหลักของบริษัทคือต้นทุนขาย คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 69% ส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริการมีความสำคัญรองลงมา สัดส่วนประมาณ 18% และค่าใช้จ่ายในการบริหารมีสัดส่วนประมาณ 3% เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ |
ทำความเข้าใจโครงสร้างต้นทุน
ก่อนที่เราจะไปดูงบการเงินจริง เรามาทำความเข้าใจในเรื่องของต้นทุนกันก่อน ต้นทุนสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทหลักๆคือ
1. ต้นทุนผันแปร (Variable Costs)
หมายถึง ต้นทุนที่จะมีต้นทุนรวมเปลี่ยนแปลงไปตามสัดส่วนของการเปลี่ยนแปลงในระดับกิจกรรมหรือปริมาณการผลิต ในขณะที่ต้นทุนต่อหน่วยจะคงที่เท่ากันทุก ๆ หน่วย
ตัวอย่าง กิจการใช้วัตถุดิบในช่วงการตัดสินใจผลิต 1 – 6 หน่วย ดังนี้
จากกราฟเส้นต้นทุนผันแปรรวมจะค่อย ๆ สูงขึ้นเป็นเส้นตรงสัมพันธ์กับจำนวนหน่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างเป็นสัดส่วน และเมื่อแสดงเส้นต้นทุนผันแปรต่อหน่วยไม่ว่าจำนวนหน่วยจะเปลี่ยนไปเท่าใดต้นทุนต่อหน่วยจะเท่ากันทุกหน่วย
ในเชิงการบริหารนั้น ต้นทุนผันแปรจะเข้ามามีบทบาทอย่างมาก ต่อการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร เช่น การกำหนดราคาสินค้าของกิจการ ก็จะต้องกำหนดให้ครอบคลุมทั้งส่วนที่เป็นต้นทุนผันแปร และต้นทุนคงที่ทั้งหมด
2. ต้นทุนคงที่ (Fixed Costs)
หมายถึง ต้นทุนรวมที่มิได้เปลี่ยนแปลงไปตามระดับของการผลิตในช่วงของการผลิตระดับหนึ่ง แต่ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยก็จะเปลี่ยนแปลงในทางลดลงถ้าปริมาณการผลิตเพิ่มมากขึ้น
จากกราฟไม่ว่าจะผลิตเพิ่มซักเท่าใด จะเห็นว่าเส้นต้นทุนรวมคงที่จะเป็นเส้นตรงขนานกับจำนวนหน่วย ไม่ว่าจำนวนหน่วยจะเปลี่ยนแปลงไปเท่าใดต้นทุนรวมจะคงที่ เมื่อแสดงต้นทุนต่อหน่วยจะพบว่าเมื่อจำนวนหน่วยค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยจะค่อย ๆ ลดลงแต่จะไม่เท่ากับ 0
ในเชิงการบริหารนั้น ต้นทุนผันแปรจะเข้ามามีบทบาทอย่างมาก ต่อการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร เช่น การกำหนดราคาสินค้าของกิจการ ก็จะต้องกำหนดให้ครอบคลุมทั้งส่วนที่เป็นต้นทุนผันแปร และต้นทุนคงที่ทั้งหมด
ในแง่ของการวิเคราะห์งบการเงินในส่วนของต้นทุนผันแปรหากดูจากกราฟต้นทุนต่อหน่วยจะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะผลิตหรือขายสินค้าได้เพิ่มมากขึ้นเพียงใด ต้นทุนต่อหน่วยก็จะคงที่ ในส่วนของต้นทุนคงที่หากดูจากกราฟต้นทุนต่อหน่วยจะเห็นได้เมื่อผลิตหรือขายสินค้าได้เพิ่มมากขึ้น ต้นทุนต่อหน่วยก็จะลดลง
และนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมบริษัทที่มีต้นทุนผันแปรสูงเวลามีรายได้มากขึ้นอาจไม่ส่งผลให้ผลประกอบการโตขึ้นได้มากเท่ากับบริษัทที่มีสัดส่วนต้นทุนคงที่สูง ในทางกลับกันบริษัทที่มีต้นทุนผันแปรสูงเวลามีรายได้น้อยลง อาจไม่ส่งผลให้ผลประกอบการตกต่ำลงได้มากเท่ากับบริษัทที่มีสัดส่วนต้นทุนคงที่สูง เป็นต้น
วิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนผ่านงบการเงิน
ในหมายเหตุประกอบงบการเงินจะมีข้อมูลที่บ่งบอกถึงประเภทค่าใช้จ่ายของบริษัทว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เช่น ค่าสินค้า เงินเดือน ค่าโฆษณา เป็นต้น ซึ่งจะไม่สามารถเห็นได้จากงบกำไรขาดทุน ดังนั้นหากเราต้องการวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนต้องดูจากหมายเหตุประกอบงบการเงินที่ชื่อว่า “ค่าใช้จ่ายตามลักษณะ” เราลองมาดูตัวอย่างของ HMPRO YE2560 ดังนี้
พออ่านหมายเหตุประกอบงบการเงินดังกล่าวแล้ว ลองเอามาวิเคราะห์สัดส่วนโครงสร้างต้นทุนของบริษัทได้ดังนี้
โครงสร้างค่าใช้จ่าย : จะเห็นได้ว่าโครงสร้างค่าใช้จ่ายของบริษัทจะนิ่งมากสัดส่วนไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นเรื่องที่ดีเพราะสามารถคาดการได้ ต้นทุนส่วนใหญ่จะเป็นต้นทุนผันแปรประมาณ 81% ซึ่งส่วนประกอบหลักนั่นก็คือต้นทุนขาย 75% ส่วนต้นทุนคงที่จะอยู่ราวๆ 19% ซึ่งส่วนประกอบหลักของต้นทุนคงที่นั่นก็คือเงินเดือนค่าแรงของพนักงาน 8% และค่าเสื่อมราคา 5% |
---------------------------------------------------------
ฝากเพื่อนๆช่วยกันแชร์บทความเพื่อส่งต่อความรู้ดีๆและหากสงสัยตรงไหนสามารถสอบถามที่ Webboard ของเราตาม Link นี้ได้เลยครับ
https://www.investme.in.th/webboard.php
หากสนใจเรียนบัญชีในรูปแบบ Online เพิ่มเติมเพื่อให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ดูรายละเอียดตาม Link นี้ได้เลยครับ
https://www.investme.in.th/accounting.php
8/209 หมู่บ้าน ทาวน์ อเวนิว ศรีนครินทร์ ซอยอ่อนนุช 68 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250