อ่านรายงานวิเคราะห์ฐานะการเงินจากผู้บริหาร
การอ่านข้อมูลวิเคราะห์ฐานะการเงินจากผู้บริหาร จะทำให้ผู้ใช้งบการเงินทราบถึงเหตุผลว่าฐานะการเงินของบริษัทที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นเกิดจากอะไร ที่ไม่สามารถหาได้จากการอ่านงบการเงิน
จากการอ่านรายงานประจำปี 2560 นั้นสามารถสรุปฐานะการเงินของบริษัทได้ดังต่อไปนี้
1.เงินสดลดลง 1,216 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากการชำระคืน เงินกู้ยืมระยะสั้นและระยะยาวจากสถาบันการเงิน รวมถึงการชำระคืนเงินหุ้นกู้ในส่วนที่ครบกำหนดชำระ 2.ลูกหนี้การค้าลดลง 177.21 ล้านบาท จากกลุ่มลูกค้าบัตรเครดิตที่ได้ชำระกับธนาคารในช่วงสิ้นปี โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่นคงค้างที่มีอายุมากกว่า 12 เดือน มีจำนวน 37.24 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ได้มีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้ที่ 31.52 ล้านบาท 3.สินค้าคงเหลือ-สุทธิ เพิ่มขึ้น 671.44 ล้านบาท โดยเป็นผลมาจากการปรับตัวตามจำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากธุรกิจ “โฮมโปร” “เมกา โฮม” และ “โฮมโปร” ที่ประเทศมาเลเซีย 4.อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ -สุทธิ ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ -สุทธิ และสิทธิการเช่า – สุทธิ รวมลดลง 182.29 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.51 ซึ่งเกิดจากการตัดค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ในปี 2560 |
ท่านใดสนใจหลักสูตรงบการเงินดูรายละเอียดที่นี้ "สอนอ่านงบการเงิน"
วิเคราะห์แนวโน้ม (Trend analysis)
สินทรัพย์ : สินทรัพย์โดยภาพรวมของบริษัทลดลงประมาณ 2% โดยบัญชีหลักๆมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ 1.เงินสดลดลง 1,216 ล้านบาท (-33%) สาเหตุหลักๆเนื่องจากการจ่ายคืนเงินกู้ยืมไปเป็นจำนวนมาก ทำให้บัญชีเงินกู้ยืม หุ้นกู้ ของบริษัทลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ในอนาคตค่าใช้จ่ายทางการเงินของบริษัทนั้นลดลง 2.ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่นลดลง 99 ล้านบาท (-5%) จากกลุ่มลูกค้าบัตรเครดิตที่ได้ชำระกับธนาคารในช่วงสิ้นปี 3.สินค้าคงเหลือเพิ่ม 671 ล้านบาท (+7%) เนื่องจากจำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากธุรกิจ “โฮมโปร” “เมกา โฮม” และ “โฮมโปร” ที่ประเทศมาเลเซีย 4.อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน / ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ ลดลง 350 ล้านบาท (-1%) เนื่องจากการตัดค่าเสื่อมราคา 5.สิทธิการเช่าเพิ่มขึ้น 102 ล้านบาท (+4%) เนื่องจากจำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากธุรกิจ “โฮมโปร” “เมกา โฮม” และ “โฮมโปร” ที่ประเทศมาเลเซีย หนี้สิน : หนี้สินโดยภาพรวมของบริษัทลดลงประมาณ 6% สาเหตุหลักเนื่องจากการจ่ายชำระคืนเงินกู้ยืม โดยบัญชีหลักๆมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ 1.เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินลดลง 1,166 ล้านบาท (-77%) 2.เงินกู้ยืมระยะยาวลดลง 589 ล้านบาท (-54%) 3.หุ้นกู้ลดลง 50 ล้านบาท (-0.4%) ดังนั้นในอนาคตค่าใช้จ่ายทางการเงินของบริษัทนั้นจะสามารถลดลงได้มากจากตัวเงินกู้ยืมที่ลดลง ส่วนของผู้ถือหุ้น : ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 1,144 ล้านบาท (7%) จากกำไรสุทธิของบริษัทที่เพิ่มสูงขึ้น |
วิเคราะห์สัดส่วน (Common size analysis)
จากการทำ Common size analysis จะเห็นได้ว่าโครงสร้างสินทรัพย์และหนี้สินไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ โดยสินทรัพย์หลักของบริษัทมี 2 รายการ นั่นก็คือ สินค้าคงเหลือ (สัดส่วน 20%) และ ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ (สัดส่วน 58%) ดังนั้นหากบริษัทสามารถบริหารสินค้าคงเหลือ / ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ ให้มีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถทำให้ผลประกอบการของบริษัทเติบโตได้ (ซึ่งจะมีการแสดงการวิเคราะห์ในเนื้อหาบทถัดๆไป) หนี้สินหลักๆของทางบรัษัทมีอยู่ด้วยกัน 2 รายการคือเจ้าหนี้ (สัดส่วน 28%) และหุ้นกู้ (สัดส่วน 38%) เจ้าหนี้ถือเป็นหนี้ที่ดี เนื่องจากขอ Credit ได้โดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ส่วนหุ้นกู้ก็เป็นหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด ถือว่าโครงสร้างหนี้สินของบริษัทนั้นค่อนข้างดี |
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Liquidity ratio, Leverage ratio, Efficiency ratio)
วิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Liquidity ratio)
โดยปกติ Current ratio ของบริษัทควรมากกว่า 1 แต่ใน Case ของ HMPRO นั้นอาจแตกต่างออกไป เนื่องจาก HMPRO เป็นธุรกิจที่ขายสินค้าในรูปแบบเงินสด ทำให้มีบัญชีลูกหนี้ค้างค่อนข้างน้อย แต่ตอนสั่งซื้อสินค้าจาก Supplier ด้วยศักยภาพและ Branding ทำให้ทางบริษัทสามารถขอ Credit term ได้นานทำให้มีบัญชีเจ้าหนี้การค้าค้างเยอะ (ซึ่งถือว่าเป็นหนี้ที่ดีเนื่องจากไม่มีต้นทุนดอกเบี้ย) ทำให้ Current ratio ของบริษัทจึงน้อยกว่า 1 แต่ไม่ได้เป็นเพราะบริษัทขาดสภาพคล่อง แต่เป็นเพราะศักยภาพในการต่อรองทางการค้าของบริษัทนั่นเอง ในปี 2560 สภาพคล่องของบริษัทปรับตัวสูงขึ้นจาก 0.71 ในปี 2559 เป็น 0.75 ในปี 2560 |
วิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Leverage ratio)
ในรอบปีที่ผ่านมา ทางบริษัทได้นำกระแสเงินสดจากการดำเนินงานไปจ่ายคืนเงินกู้ยืมต่างๆ ทั้งเงินกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร เงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคาร รวมถึงหุ้นกู้ ทำให้หนี้สินของบริษัทลดลง ทำให้ D/E ratio นั้นปรับตัวลดลง ถือได้ว่าฐานะการเงินของบริษัทมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น และในอนาคตทางบริษัทก็จะมีต้นทุนทางการเงินที่ลดลงได้ |
วิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Efficiency ratio)
ในส่วนของ Fixed Assets Turnover และ Total Assets Turnover ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อนแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ของบริษัทในการสร้างรายได้ที่ดีขึ้น ในส่วนของ Collection period (ระยะเวลาในการเก็บเงิน) ของบริษัทอยู่ที่ประมาณ 11-12 วัน ซึ่งถือว่าระยะเวลาในการเก็บเงินของบริษัทนั้นสั้นมาก เนื่องจากธุรกิจหลักของบริษัทเป็นการขายแบบเงินสด ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ในส่วนของ Holding period (ระยะเวลาในการเก็บสินค้า) เพิ่มขั้นจาก 78 วันในปี 2559 เป็น 83 วันในปี 2560 ซึ่งสาเหตุที่ทำให้จำนวนวันเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นจากการขยายสาขาของบริษัทแต่ยอดขายยังอาจทำได้ไม่ดีเท่ากับสาขาเดิม ในส่วนของ Payment period (ระยะเวลาในการจ่ายชำระหนี้) อยู่ที่ประมาณ 115-116 วัน แสดงให้เห็นถึงอำนาจในการต่อรองกับ Supplier จาก Branding ของบริษัท ทำให้เวลาซื้อของจาก Supplier ต้องใช้เวลาอีก 3 เดือน ทางบริษัทจึงค่อยจ่าย Supplier ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะสามารถนำเงินที่ต้องจ่าย Supplier มาหมุนก่อนได้ ในส่วนของ Cash cycle (วงจรเงินสด) ของบริษัทติดลบที่ประมาณ 22 วัน ซึ่งถือว่าดีมากในแง่ของการบริหารกระแสเงินสด เนื่องจากระยะเวลาหลังจากซื้อสินค้าเข้ามาจนถึงเมื่อได้รับชำระเงิน นั้นน้อยกว่าระยะเวลาในการจ่ายชำระค่าสินค้าแก่ Supplier ทำให้บริษัทสามารถนำเงินสดรับจากการขายมาหมุนเวียนก่อนเพื่อต่อยอดทางธุรกิจต่อไปเรื่อยๆได้ บทสรุปคือฐานะการเงินของบริษัทแข็งแกร่งขึ้นนั่นก็คือ บริษัทมีสภาพคล่องที่สูงขึ้น และมีสัดส่วนหนี้สินลดลงเป็นอย่างมาก ประกอบกับประสิทธิภาพในการสร้างรายได้ของสินทรัพย์ก็ดีขึ้น ส่วน Cash cycle ถึงแม้จะแย่ลงเล็กน้อยจากจำนวนวันในการถือครองสินค้าที่ยาวนานขึ้น แต่บริษัทก็ยังมี Cash cycle ติดลบอยู่มาก และยังไม่น่าเป็นกังวลในจุดนี้ |
---------------------------------------------------------
ฝากเพื่อนๆช่วยกันแชร์บทความเพื่อส่งต่อความรู้ดีๆและหากสงสัยตรงไหนสามารถสอบถามที่ Webboard ของเราตาม Link นี้ได้เลยครับ
https://www.investme.in.th/webboard.php
หากสนใจเรียนบัญชีในรูปแบบ Online เพิ่มเติมเพื่อให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ดูรายละเอียดตาม Link นี้ได้เลยครับ
8/209 หมู่บ้าน ทาวน์ อเวนิว ศรีนครินทร์ ซอยอ่อนนุช 68 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250